ประวัติ ของ อะโดบี ออเธอร์แวร์

ออเธอร์แวร์ เป็นโปรแกรมที่พัฒนาโดยบริษัทแมโครมีเดีย คิดค้นขึ้นในปี พ.ศ. 2530 โดยด็อกเตอร์ไมเคิล อัลเลน ซึ่งอัลเลนมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบปฏิบัติการพลาโต ในช่วงยุค 1970 กับมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ และ คอนโทรลดาตาคอเปอเรชัน หรือ CDC โดยอัลเลนเป็นหัวหน้าของการสร้างระบบช่วยสอน และลงทุนอย่างมากมายเพื่อที่จะสร้างซอฟต์แวร์ที่เสมือนกับห้องสมุด และมีบทเรียนต่างๆ ให้สามารถทำงานบนระบบปฏิบัติการพลาโต

การเขียนบทเรียนบนระบบปฏิบัติการพลาโตเป็นภาษาโปรแกรมเฉพาะที่เรียกว่า ติวเตอร์ (TUTOR) ซึ่งมีโครงสร้างเฉพาะตัวในการสอน เช่นการตัดสินคำตอบ และ โครงสร้างที่สามารถแตกแยกเป็นส่วนย่อยๆ ได้ ติวเตอร์สามารถสร้างระบบสคิรปต์ที่มีประสิทธิภาพ เช่น การจำลองสิ่งต่างๆ และการเล่นเกม อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเขาจะมีความตั้งใจที่จะสร้างสิ่งที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการศึกษาเป็นเวลานานนับทศวรรษที่ผ่านมาในการทำงาน แต่ภาษาติวเตอร์ ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะสามารถเรียนรู้และเข้าใจมัน

ออเธอร์แวร์เป็นโปรแกรมที่นำมาแก้มาปัญหาของภาษาติวเตอร์ ซึ่งในช่วงแรกเป็นโปรแกรมสำหรับแมคอินทอช เท่านั้น แต่โปรแกรมสามารถทำงานบนระบบดอส ได้ด้วย ซึ่งโปรแกรมบนดอสพัฒนาจนถึงการปล่อยโปรแกรมให้สามารถทำงานบนไมโครซอฟท์ วินโดวส์

ออเธอร์แวร์ใช้หน้าตาของโปรแกรมที่สามารถมองเห็นได้ด้วยไอคอน ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของการเรียนรู้แบบโต้ตอบ โดยผู้ใช้สามารถวางไอคอนไว้บนเส้น (flowline) เพื่อสร้างลำดับเหตุการณืที่จะกำหนดให้เกิดขึ้น โดยออเธอร์แวร์ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วในการวางขายโปรแกรม บริษัทออเธอร์แวร์ ก่อตั้งขึ้นขึ้นในปี พ.ศ. 2535 โดยเป็นการรวมตัวของบริษัทแมโครมายด์ และ พาราคอมป์ ก่อนจะเป็นแมโครมีเดีย และต่อมาในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2548 อะโดบี ได้ควบรวบแมโครมีเดียเข้าด้วยกัน ภายใต้ชื่ออะโดบีซิสเต็มส์ ซึ่งรุ่นปัจจุบันของโปรแกรมคือ 7.02 โดยรุ่น 7 วางขายในปี พ.ศ. 2546 ซึ่งมีปัญหากับอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ 7 และต่อมาได้มีปัญหากับโหมดป้องกันบนวินโดวส์วิสตา เป็นข้อผิดพลาดของรันไทม์ ReadURL() Javascript function[1]

โดยสังคมที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาออเธอร์แวร์นั้นรู้กันว่าจะมีการพัฒนารุ่น 8.0 ก่อนที่จะมีการควบรวมของทั้งสองบริษัท กับ 4 รุ่นทดลองที่ปล่อยออกมาให้ทดสอบก่อนจะมีการรวมบริษัท รวมไปถึงคุณลักษณะใหม่ต่างๆ ความสามารถในการเผแพล่เป็นไฟล์ช็อกเวฟแฟลช ซึ่งต่อมาในวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2550 หลังจากหลายปีในการพัฒนารุ่นใหม่ อะโดบีได้ยืนยันว่าจะหยุดการพัฒนาออเธอร์แวร์[2]

ใกล้เคียง

อะโดบีซิสเต็มส์ อะโดบี โฟโตชอป อะโดบี แฟลช อะโดบี ดรีมวีฟเวอร์ อะโดบี อิลลัสเตรเตอร์ อะโดบี อินทิเกรทิดรันไทม์ อะโดบี แอโครแบต อะโดบี ออเธอร์แวร์ อะโดบี อาฟเตอร์เอฟเฟกต์ อะโดบี ไฟร์เวิรกส์